อัปเดต : ปรับตั้งค่าภาษีและใบกำกับภาษี ให้สอดคล้องกับการใช้งานประเภทธุรกิจของร้านค้า

ระบบได้อัพเดตให้ร้านค้า เลือกเปิดใช้งานภาษีได้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับรองรับนโบบายการตั้งค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม รูปแบบใหม่ ระบบมีการปรับการตั้งค่าตามเงื่อนไขและกฏเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนด สามารถเลือกเปิดใช้งานจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้
          – กรณีไม่เปิดใช้งาน “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) “จะไม่สามารถพิมพ์เอกสารใบกำกับภาษีได้ และระบบจะไม่มีการคำนวนภาษีในคำสั่งซื้อให้
          – กรณีที่ร้านค้ามีการจดทะเบียนภาษีและต้องการพิมพ์เอกสารใบกำกับภาษี เลือกเปิดใช้งาน “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ” ได้เลย

ขั้นตอนการเปิดใช้งานภาษี

1. ไปที่เมนู “ตั้งค่า” เลือก “ภาษี” จากนั้นเลือก “ภาษี
2.
เลือกเปิดใช้งาน “จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ”

3. ระบบจะแสดงหน้าต่าง “เปิดใช้งานการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ” กดปุ่ม ยืนยัน

 

เมื่อเปิดใช้งานใช้งานเรียบร้อย ระบบจะแสดงการตั้งค่า 3 หัวข้อ ดังนี้
4. สินค้า : จะเป็นการตั้งค่าสำหรับแต่ละสินค้าเพื่อระบุว่าจะคิดภาษีมูลค่าเพิ่มจากราคาสินค้าหรือไม่ โดยจะขึ้นอยู่กับตั้งค่าการคำนวนภาษีที่สินค้านั้นๆ เมื่อเพิ่มคำสั่งซื้อ แล้วสินค้ามีการเปิดคำนวนภาษี ระบบจะคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ให้อัตโนมัติ

5. ค่าบริการเก็บเงินปลายทาง(COD) : เป็นการตั้งค่าเพื่อระบุว่าจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่มในค่าบริการเก็บเงินปลายทาง (COD) หรือไม่ สามารถเลือกให้คำนวนหรือไม่คำนวนภาษีได้
กรณีเลือก คำนวนภาษี (V) : หากเพิ่มคำสั่งซื้อที่เลือกการชำระเงินแบบเก็บเงินปลายทาง แล้วระบุค่าบริการไว้ ระบบจะคำนวนภาษ๊มูลค่าเพิ่ม 7% ให้อัตโนมัติ
กรณีเลือก ไม่คำนวนภาษี (N) : ระบบจะไม่นำค่าบริการเก็บเงินปลายทางในคำสั่งซื้อมาคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

6. ค่าจัดส่ง : เป็นการตั้งค่าเพื่อระบุว่าจะรวมภาษีมูลค่าเพิ่มในค่าจัดส่งสินค้าหรือไม่ สามารถเลือกให้คำนวนหรือไม่คำนวนภาษีได้
กรณีเลือก คำนวนภาษี (V) : เมื่อเพิ่มคำส่งซื้อ แล้วมีการระบุค่าส่ง ระบบจะทำการคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ให้อัตโนมัติ
กรณีเลือก ไม่คำนวนภาษี (N) : ระบบจะไม่นำค่าขนส่งในคำสั่งซื้อมาคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม

 

7. หากานค้าเปิดการตั้งค่า “ค่าบริการเก็บเงินปลายทาง(COD)” คู่กับ “เค่าจัดส่ง” ระบบจะนำยอดรวมสินค้า บวกกับค่าขนส่ง บวกค่าบริการเก็บปลายทาง แล้วจะคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ให้
8. ประวัติการทำรายการ : แสดงประวัติการทำรายการในการเปิด/ปิดการเรียกเก็บภาษี

ใบกำกับภาษี

หากร้านค้ามีการเปิดใช้งาน จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เรียบร้อยแล้ว จะสามารถตั้งค่าหัวข้อใบกำกับภาษีได้ ดังนี้

A. การกำหนดการสร้างเลขใบกำกับเมื่อ

  • สร้างด้วยตนเอง : ออกใบกำกับภาษีก็ต่อเมื่อผู้ใช้งานกดพิมพ์เอกสารใบกำกับภาษีด้วยตนเอง ระบบจะทำการออกใบกำกับภาษีโดยรันหมายเลขต่อจากหมายเลขล่าสุด
  • เพิ่มคำสั่งซื้อ : ออกใบกำกับภาษีก็ต่อเมื่อมีการบันทึกคำสั่งซื้อ ระบบจะทำการออกเอกสารใบกำกับภาษีให้อัตโนมัติ โดยรันหมายเลขต่อจากหมายเลขล่าสุด
  • ยืนยันคำสั่งซื้อ : ออกใบกำกับภาษีก็ต่อเมื่อมีการยืนยันคำสั่งซื้อ ระบบจะทำการออกเอกสารใบกำกับภาษีให้อัตโนมัติ โดยรันหมายเลขต่อจากหมายเลขล่าสุด
  • พร้อมจัดส่ง : ออกใบกำกับภาษีก็ต่อเมื่อคำสั่งซื้อย้ายเข้าพร้อมจัดส่ง ระบบจะทำการออกเอกสารใบกำกับภาษีให้อัตโนมัติ โดยรันหมายเลขต่อจากหมายเลขล่าสุด
  • อนุญาตให้สร้างใบกำกับภาษีสำหรับคำสั่งซื้อที่ไม่มีการคิดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเป็นศูนย์ (0) : กรณีเลือกไว้ ระบบจะสร้างใบกำกับภาษีสำหรับคำสั่งซื้อที่สินค้าไม่ได้เปิดคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มและแสดงยอดมูลค่าก่อนภาษีเป็น 0

 

B. ส่วนลดท้ายบิล การตั้งค่าวิธีการใช้ส่วนลดกับคำสั่งซื้อ

  • เฉลี่ยส่วนลดตามรายการสั่งซื้อ : ส่วนลดจะถูกแบ่งตามสัดส่วนของแต่ละรายการในคำสั่งซื้อ
  • ส่วนลดรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม : ส่วนลดจะถูกนำมาคิดรวมกับยอดรวมที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม
    *** สำหรับช่องทางมาร์เก็ตเพลส หากส่วนลดเกินมูลค่าที่คำนวณภาษีหลังหักส่วนลด ส่วนลดที่เกินจะถูกนำไปเป็นส่วนลดไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตโนมัติ
  • ส่วนลดรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม : ส่วนลดจะถูกนำมาคิดรวมกับยอดรวมที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม
    ***สำหรับช่องทางมาร์เก็ตเพลส หากส่วนลดเกินมูลค่าที่คำนวณภาษีหลังหักส่วนลด ส่วนลดที่เกินจะถูกนำไปเป็นส่วนลดไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตโนมัติ

 

C. ประวัติการทำรายการ : แสดงประวัติการเลือกการสร้างเลขที่ใบกำกับภาษีในสถานะคำสั่งซื้อใด และหากมีการเลือกการคำนวนภาษีส่วนลดท้ายบิล หากมีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขจะแสดงประวัติการเปลี่ยนแปลง ผู้ที่ดำเนินการ วันที่ดำเนินการ ในประวัติทำรายการ เพื่อให้ร้านค้าสะดวกต่อการตรวจสอบ

This site is registered on wpml.org as a development site.